วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ประเพณีการลอยโคม ยี่เป็ง

ยี่เป็ง...ประเพณีที่ดีงาม 

ควรรักษาไว้คู่แผ่นดินไทย 

              เทศกาลหนึ่งของไทยเราที่เป็นที่รู้จักของชาวต่าง   ชาติเป็นอย่างดีก็คือ ประเพณี
ยี่เป็งของภาคเหนือ โดยเฉพาะการปล่อยโคมลอย ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

             แต่จริงๆ แล้วการปล่อยโคมลอยไม่ได้มีแค่ในบ้านเราเท่านั้น ที่จังหวัด Niigata ประเทศญี่ปุ่น ก็มีเทศกาลปล่อยโคมที่คล้ายๆ เหมือนกัน      

          เทศกาลปล่อยโคมของจังหวัด Niigata นี้ 
ได้รับแรงบันดาลจากฉากในภาพยนต์ ซึ่งเป็นเทศกาลที่งดงามมากจนหลายเป็นเทศกาลประจำปีของที่นี่

           เทศกาลปล่อยโคมในญี่ปุ่นเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2012 โดยมีชื่อเรียกว่า เทศกาลปล่อยโคม Tsunan ขอพรจากฟากฟ้า ท่ามกลางหิมะโปรยปราย…

             บรรยากาศภายในงานก็ไม่ต่างจากยี่เป็งของ
เราเลย เพียงแต่เปลี่ยนมาเป็นที่ญี่ปุ่นแทน โดยในช่วงเย็นจะมีคนมาขายโคมไฟเต็มไปหมด และจะรอปล่อยพร้อมกันในช่วงกลางคืน กลายเป็นภาพที่
สวยงามอย่างที่เห็นในภาพ

           แต่ในญี่ปุ่นมีความต่างเล็กน้อยคือ ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ยังคงมีหิมะตกเล็กน้อย ดังนั้น โคมที่ปล่อยจึงขึ้นสวนทางกับหิมะที่ตกลงมา ทั้งสวยและ
น่าทึ่ง  จะสวยงามแค่ไหน  ก็ลองไปชมกันนะคะ


       

มาดูของประเทศไทยกันบ้าง



            “ลอยกระทง” เป็นงานรื่นเริงอย่างหนึ่งของคนไทย มีกำหนดจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี ซึ่งในช่วงเวลานี้น้ำจะหลาก ทางภาคเหนือของไทยจัดประเพณีลอยกระทงกันในวันเพ็ญเดือนยี่ หรือที่เรียกกันว่า วันยี่เป็ง คำว่า “เป็ง” ในภาษาเหนือนั้นตรงกับคำว่า “เพ็ญ” ในภาษาภาคกลาง ส่วน “ยี่” นั้น คือ เดือนยี่หรือเดือนที่ 2 ของปี 

               ความสำคัญของประเพณียี่เป็ง ตามวัฒนธรรมของล้านนาจะแบ่งโคมไฟออกเป็น 4 แบบ คือ

แบบ  1 เรียก "โคมติ้ว" หรือ โคมไฟเล็กที่ห้อยอยู่กับซีกไม้ไผ่ซึ่งผู้คนจะถือไปในขบวนแห่และนำไปแขวนไว้ที่วัด

แบบ 2 เรียก "โคมแขวน" ที่ใช้แขวนบูชาพระพุทธรูปแบบด้วยกันเช่น รูปดาว รูปตะกร้า โดยปกติจะใช้แขวนตามวัดหรือตามหิ้งพระก็ได้

แบบ 3 เรียก "โคมพัด" ทำด้วยกระดาษสาเป็นรูปกรวยสองอันพันรองแกนเดียวกันด้านนอกจะไม่มีลวดลายอะไรส่วนด้านในจะตัดแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ ในทางพุทธศาสนา เมื่อจุดโคมด้านใน แสงสว่างจะทำให้เกิดเงาบนกรวย ด้านนอกก็จะเคลื่อนไหวคล้ายตัวหนังตะลุง

แบบ 4  เรียก "โคมลอย" ซึ่งหลายคนอาจจะรู้จักคุ้นเคยกันอยู่แล้วเป็นโคมใหญ่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน ตัวโครงทำจากซีกไม้ไผ่หุ้มด้วยกระดาษสา เมื่อจุดโคม ความร้อนจากเปลวไฟ จะทำให้โคมลอยตัวขึ้น การปล่อยโคมลอยนี้จะทำกันที่วัดหรือตามบ้านคน โดยเชื่อกันว่า เคราะห์  ภัย  และโชคร้ายทั้งหลายจะลอยไปกับโคม


                       ปัจจุบันการปล่อยโคมลอย กลายเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล "ยี่เป็ง" หรือวันเพ็ญเดือนยี่ของชาวล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส ธรรมเนียมปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่ง

ขอบคุณภาพจากhttps://www.thailandexhibition.com/Eat-Travel/685

ขอบคุณภาพจากhttps://www.thailandexhibition.com/Eat-Travel/685

                     หนึ่งปี มีครั้งเดียว  ที่คนไทยทางภาคเหนือจะได้สัมผัสกับความสุขตามประเพณีอย่างนี้   ประเพณีอันดีงามอย่างนี้  ควรรักษาไว้เป็นมรดกให้กับลูกหลานไทย   เพราะมันเป็นความสุขทางใจที่เทียบค่าไม่ได้   

               บางคนใช้โคมลอยนี้กำหนดนิมิตในการทำสมาธิ ก็สามารถเข้าถึงความสว่างได้โดยง่าย  นอกจากนี้  ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ชาวต่างชาติมาในงานเยอะมาก  เป็นการเสริมรายได้ให้กับประชาชนเป็นอย่างดี   บรรยากาศเป็นไปอย่างสงบ และศักดิ์สิทธิ์

              การผลิตโคมลอยที่มีความปลอดภัย  มีรายละเอียดในการทำอย่างดี  และมีการควบคุมการผลิตคำนึงถึงความปลอดภัย โดยใช้โคมลอยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.808/2552 คือ...



... ใช้ลวดและเชือกธรรมดายึดไส้โคม ไม่ก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ไม่มีผลต่อไฟฟ้าดับ 

... เชื้อไฟดับกลางอากาศในเวลา 8 นาที รัศมีการตก 3 กิโลเมตรในบริเวณพื้นที่จัดงาน

...ตัวกระดาษใช้กระดาษสาทนไฟจากผลงานวิจัยกองทุนสวทช.และได้อนุสิทธิบัตร เลขที่ 5504 (10 สิงหาคม 2550)

              การจัดงานปล่อยโคมลอยนั้น  ได้จัดนอกเขตพื้นที่การบิน  เพราะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังท่าอากาศยาน  และการปล่อยโคมจะปล่อยในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น   ในขณะปล่อยก็มีการเตรียมพร้อมระวังภัยเพื่อความปลอดภัยของทุกคน 

             หลังจากเสร็จงานแล้วก็มีการเก็บงาน ตามเก็บโคม  ตามพื้นที่ดังกล่าว  ระบุคนรับผิดชอบตามเขตพื้นที่  หากเห็นโคมยังไม่ได้รับการเก็บ ก็สามารถโทรให้มาเก็บได้ ในรัศมี 3 กม.  

               จะเห็นได้ว่า การปล่อยโคมลอยแต่ละครั้ง  มีการเตรียมความพร้อมอย่างดี    ควรกำหนดจุดในการปล่อยโคมลอย  จะได้ไม่มีอันตรายอย่างที่เห็นกันในข่าว ช่วยกันคนละนิด คนละหน่อย เพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด  จะได้รักษาประเพณีอันดีงามไว้คู่ประเทศไทยเรา    อย่างนี้ดีไหมคะ....

              ขอย้ำ....ว่าให้ไปจุดโคมลอยในจุดที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ...เพื่อความปลอดภัย  เพราะมีรถดับเพลิง  รถกู้ภัย  รถกู้ชีพ  เตรียมพร้อม ... อย่าจุดกันเองตามบ้าน   ตามตรอก ซอกซอย ชุมชนที่อยู่อาศัย เพราะมีสายไฟ    และไม่สามารถควบคุมทิศทางลมได้  อาจจะเกิดอันตรายได้  





2 ความคิดเห็น:

  1. สาธุ ขอกราบอนุโมทนาบุญกับคณะผู้จักงานปล่อยโคมยี่เป็งที่ดูแลและอนุรักษ์วัฒนธรรมดี ๆ เหล่านี้ไว้ด้วยความละเอียด ปราณีต ระมัดระวังอย่างดียิ่ง สาธุ

    ตอบลบ

ชนะวิกฤต​ Covid-19 ด้วยการสวดมนต์เป็นไปได้จริงหรือไม่

ชนะวิกฤต​ Covid-19   ด้วยการสวดมนต์เป็นไปได้จริงหรือไม่       ช่วงนี้คงได้ข่าวเกี่ยวกับ รมต.สำนักนายก ได้เสนอให้มหาเถรสมาคม  ถ่ายท...