วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

ชนะวิกฤต​ Covid-19 ด้วยการสวดมนต์เป็นไปได้จริงหรือไม่


ชนะวิกฤต​ Covid-19 
 ด้วยการสวดมนต์เป็นไปได้จริงหรือไม่



      ช่วงนี้คงได้ข่าวเกี่ยวกับ รมต.สำนักนายก ได้เสนอให้มหาเถรสมาคม  ถ่ายทอดบทสวดมนต์ ‘บทพระรัตนสูตร’ และ กราบทูลเชิญเสด็จ “สมเด็จพระสังฆราช” เป็นองค์ประธานในพิธี 25 มี.ค. ชวนประชาชนร่วมสวดมนต์แบบถ่ายทอดสด “บทพระรัตนสูตร” สร้างขวัญ กำลังใจฝ่าวิกฤต Covid-19

       หลาย ๆ ท่านฟังแล้วก็สุดแสนจะดีใจ  เพราะเรื่องเหล่านี้ มีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล  หลาย ๆ ท่านก็ทราบกันดีแล้ว ในที่นี้จะขอนำมาทบทวนเรื่องราวโดยย่อดังนี้

ครั้งหนึ่งกรุงเวสาลีเกิดทุพภิกขภัย ชาวเมืองมากมายต้องล้มตายจำนวนมาก พวกอมนุษย์ได้กลิ่นคนตายก็พากันมา  รบกวนมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำให้ผู้คนก็ล้มตายเพิ่มอีก เพราะอดอยาก สกปรก จนเกิดอหิวาตกโรค
ชาวเมืองไปกราบทูลพระราชาเพื่อหาวิธีปัดเป่าภยันตรายที่เกิดขึ้น   บรรดาเจ้าลิจฉวีจึงตกลงให้นิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมา   พระพุทธองค์ทรงทราบว่าดีว่า  เมื่อตรัสรัตนสูตรในกรุงเวสาลี การอารักขาแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาล  เมื่อฟังจบสัตว์ 84,000 จะตรัสรู้ธรรม  นับเป็นประโยชน์ถึง 2 ทาง จึงทรงรับนิมนต์ไป
พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อทรงทราบว่าพระพุทธองค์เสร็จ  ทรงรับสั่งให้ปรับพื้น ถมดิน ทำทางให้เรียบ ให้ปลูกที่ประทับแรมทุกโยชน์   เพื่อเตรียมต้อนรับพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป
เมื่อเสด็จถึงนครเวสาลี พระพุทธองค์แค่ยกพระบาทแรกวางลงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมา ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดส่งลงสู่แม่น้ำคงคา  ท้าวสักกะให้อมุษย์ทั้งหลายต้องหลบหนีไปจากเมืองเวสาลีเป็นอันมาก
พระองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่องประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ 3 ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร แล้วได้ตรัสรัตนสูตร
เมื่อพระอานนท์เริ่มกล่าวว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในตอนแรก ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง 4 อย่างหนาแน่น บางพวกต้องทลายกำแพงเมืองหนีไป   เมื่ออมนุษย์ไปแล้ว โรคจึงสงบลง พวกมนุษย์ทั้งหลายก็พากันออกมาบูชาพระเถระด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้น 
นี่เป็นเรื่องของอานุภาพของบุญ เป็นเรื่องอจินไตย เกินกว่าที่ใคร ๆ จะเอามาคิดได้ 

สำหรับประเทศไทย  ในวันที่ 25 มีนาคมนี้ เป็นวันดี  มีสิริมงคล เป็นวันที่พระสงฆ์และประชาชนทั้งประเทศ  ได้ร่วมใจกันทำตามที่สมเด็จพ่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้ทำไว้เป็นแบบอย่างแล้วนี้    
นอกจากการสวดมนต์แล้ว  การจะชนะโรคระบาดนั้น จะต้องระมัดระวังเรื่องการดูแลและป้องกันตัวเองให้ปลอดภัย อย่างที่คุณหมอและสาธารณสุขแนะนำด้วย เช่น
อยู่ในบ้านไม่เดินทางไปไหน ๆ 
...ไม่ไปในที่ชุมชน หลีกเลี่ยงที่มีคนหนาแน่น
...คุยกันห่าง 1 เมตร อย่าใกล้ชิดกัน อย่าโอบกอดกัน
...อยู่ห่างจากคนไอและจาม
...หากรู้ว่าตัวเองติดโรคก็ต้องระมัดระวัง ไม่ให้ไปติดคนอื่น เพื่อรับผิดชอบต่อสังคม
 ...ไม่สัมผัสกับคนอื่น
...พยายามเลี่ยงการรับประทานอาหารในที่สาธารณะ
...ทานของร้อน ๆ 
...ใช้ช้อนของตนเอง
...และล้างมือบ่อย ๆ รักษาความสะอาดให้ดี 

เมื่อทุกคนปฏิบัติอย่างนี้ จะทำให้ ตัวเอง..ครอบครัว...เพื่อนบ้าน...ประเทศชาติรอดพ้นจากวิกฤต Covid -19 นี้ ได้อย่างแน่นอน ขอให้ทุกท่านรอดพ้นจากวิกฤตในครั้งนี้ ด้วยความสุข  ปลอดภัยและราบรื่น ด้วยเทอญ.

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

ศ.ดร.จำนงค์ ชี้เรื่องของพระสงฆ์ไม่ควรตีความ กฎหมายใส่ความคิดของตน แต่ควรยึดพระธรรมวินัย

บทความนี้มีประโยชน์กับพระพุทธศาสนา ขอเก็บไว้ใน blog นี้  เพื่อเป็นแบบแผนให้กับคนรุ่นหลังต่อไป  กราบขอบพระคุณอย่างสูง

...................................................................................................................................................................

“การสละสมณเพศตามกฎหมาย” ศาสตราจารย์พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ (ราชบัณฑิต)


กรณีที่เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แถลงข่าว เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ส่งผลให้สังคมเข้าใจว่า การแถลงข่าวดังกล่าวเป็นมติของมหาเถรสมาคม “สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสมือนได้ประกาศให้สังคมเข้าใจว่า พระสงฆ์ที่ถูกคุมขัง ได้ขาดจากความเป็นพระภิกษุไปแล้ว ตามผลของกฎหมายมาตรา ๒๙ และ มาตรา ๓๐ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ” ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง การตีความข้อกฎหมาย โดยใส่ความคิดเห็นของตนเข้าไปในข้อกฎหมาย เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามหลักเจตนารมณ์ของกฎหมาย อาจส่งผลกระทบ เกิดความเสียหายต่อคณะสงฆ์ และพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวง 
การให้พระภิกษุสละสมณเพศ ตามเจตนารมณ์ของมาตรา ๒๙ นั้น ต้องจัดการให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย โดยต้องมีเจตนาเปล่งวาจาลาสิกขาต่อหน้าผู้รู้ความ ตามแนวของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๗๘๒/๒๕๔๓ “การจะขาดจากความเป็นพระภิกษุ ตามมาตรา ๒๙ พระภิกษุรูปนั้น ต้องมีการกล่าวคำลาสิกขา”  
จากแนวคำพิพากษาศาลฎีกานี้ เป็นการยืนยันได้ว่า ถ้าไม่ได้จัดการลาสิกขาตามขั้นตอนพระธรรมวินัย โดยมีเจตนาเปล่งวาจาลาสิกขา ถือได้ว่า ไม่เป็นการสละสมณเพศ ตามมาตรานี้
แต่ปรากฎว่า พระสงฆ์วัดสระเกศ กับ วัดสามพระยา ไม่ได้เปล่งวาจาลาสิกขา และในวันที่ต้องถูกคุมขัง ก็ปรากฎข้อเท็จจริงว่า “ไม่มีพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการให้มีพระสงฆ์รูปใด จากวัดใด มาจัดการดำเนินการให้สละสมณเพศ ทั้งไม่ปรากฏพยานเอกสาร และพยานบุคคล และไม่ปรากฎว่า มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรของพระภิกษุรูปที่มาดำเนินการ ให้สละสมณเพศ ที่จะต้องลงความเห็นว่า ท่านได้ลาสิกขาไปแล้ว”
ยังปรากฎข้อเท็จจริงอีกว่า “ในการนำสืบคดีต่อศาล มีการถามเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกปาก ตั้งแต่ตำรวจที่จับกุม ก็เบิกความต่อศาลว่า  “ขณะจับกุมยังเห็นท่านใส่จีวร” ตำรวจที่สอบสวน ก็เบิกความต่อศาล ว่า “ขณะที่สอบสวนก็ยังเห็นท่านใส่จีวร” ตำรวจทุกปากยืนยันตรงกันว่า ไม่ได้มีการจัดให้ท่านสละสมณเพศ ทั้งขณะส่งตัวไปศาล ก็ปรากฏต่อศาล ว่า “ท่านยังใส่จีวร” และขณะจะนำตัวท่านเข้าไปที่เรือนจำ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ก็ยังเห็นท่านใส่จีวรเช่นเดียวกัน
“จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้จัดให้มีการสละสมณเพศ ตามมาตรา ๒๙ ประกอบกับคำพิพาษาศาลฎีกาที่ ๖๗๘๒/๒๕๔๓ ที่ได้วางแนวทางปฏิบัติไว้”
เมื่อดำเนินการให้สละสมณเพศ ตามมาตรา ๒๙ แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของศาล ต้องรายงานการดำเนินการดังกล่าวต่อศาล ตามมาตรา ๓๐ แต่ปรากฎข้อเท็จจริงในวันดังกล่าว ไม่ปรากฎว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอำนาจตามกฎหมาย ได้รายงานเรื่องการสละสมณเพศให้ศาลทราบอีกด้วย
ทั้งนี้ องค์ประกอบการสละสมณเพศตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการให้ครบองค์ประกอบของมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ กล่าวคือ ท่านต้องมีเจตนาลาสิกขา และ ได้กล่าวคำลาสิกขา ตามมาตรา ๒๙ และ เจ้าหน้าตำรวจผู้มีอำนาจตามกฎหมายต้องรายงานต่อศาล ตามมาตรา ๓๐ ถ้าไม่ครบองค์ประกอบทั้งสองมาตรา ถือว่า ไม่เป็นไปตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้
ดังนั้น จึงเป็นการยืนยันทั้งทางข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย พระธรรมวินัย และแนวทางปฏิบัติของคำพิพากษาศาลฎีกาว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีการดำเนินการให้ท่านสละสมณเพศ ตามที่เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติชี้แจงต่อสื่อมวลชน
ส่วนการถูกคุมขังและการใส่ชุดขาวนั้น ไม่ใช่ประเด็นที่จะนำมากล่าวอ้างว่า เป็นสิ่งที่ทำให้ท่านขาดจากความเป็นพระไปแล้ว เพราะสาระสำคัญของความเป็นพระภิกษุจะสมบูรณ์หรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่การถูกคุมขัง แต่อยู่ที่ ข้อวัตร ปฏิบัติ ของความเป็นพระภิกษุตามพระธรรมวินัย 
อนึ่ง ที่ต้องใส่ชุดขาว ก็มีเหตุจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของเรือนจำ ไม่ได้ทำให้ความเป็นพระภิกษุหมดไป เช่น เวลาพระสงฆ์อาพาธต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ต้องถอดจีวรเพื่อใส่ชุดตามระเบียบของโรงพยาบาล เมื่อหายอาพาธแล้ว ก็กลับมาใส่จีวรเหมือนเดิม หรือ เมื่อมีโจรขโมยจีวรไป ก็สามารถใส่ชุดอื่นไปพลางก่อนได้
นอกจากนั้น ชาวไทยก็ทราบดีว่า การลาสิกขาของพระสงฆ์ไทย จะกล่าวคำลาสิกขาต่อหน้าพระภิกษุด้วยกันเท่านั้น จะไม่กล่าวคำลาสิกขาต่อหน้าฆราวาส ซึ่งผู้ที่เคยผ่านการบวชเรียนเขียนอ่านมา ก็ย่อมรู้ว่า ไม่ได้ลาสิกขาต่อหน้าฆราวาส แต่จะลาสิกขาต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ หรือพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยังได้อ้างถึง มาตรา ๒๘ ว่า “พระภิกษุรูปใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย ต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด” นั้น เป็นกรณีของพระภิกษุกับคดีล้มละลาย หรือพระภิกษุถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย กล่าวคือ พระภิกษุเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่สามารถใช้เงินคืนได้ จึงถูกลูกหนี้ฟ้องล้มละลาย ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องที่วัดสระเกศ และวัดสามพระยา ถูกกล่าวหา จึงไม่ควรนำมากล่าว จะเป็นการชี้นำให้สังคมเกิดความสับสน
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์ ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ควรทบทวนบทบาท และหน้าที่ให้ชัดเจน เพื่อเป็นการรักษาพระธรรมวินัย และรักษาคณะสงฆ์ ให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบไป

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563

พิษของ COVID-19

พิษของ COVID-19
               อยู่กันดี ๆ ก็มีใครก็ไม่รู้  ... มาโพสต์ว่า "  รณรงค์ให้ธรรมกายเปิดให้ใช้พื้นที่เป็นศูนย์ควบคุม COVID-19"
        เหตุผลเพราะว่าเนื้อที่กว้าง...มีพื้นที่รับรองคนได้มากกว่า1,000,000 คน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ทั้งด้านที่อยู่อาศัย อาหาร และโรงพยาบาล
              แนวคิดในการสร้างวัดพระธรรมกาย จุดประสงค์ของการสร้างวัด  สืบทอดตั้งแต่คุณยายอาจารย์ ...หลวงพ่อธัมมชโย หลวงพ่อทัตตชีโว  คือ สร้างวัดให้เป็นวัด  สร้างพระให้เป็นพระ  สร้างคนให้เป็นคนดี 
              ส่วนเรื่องการใช้พื้นที่วัดพระธรรมกาย เป็นศูนย์ควบคุม COVID-19  นี่  น่าจะเกินความสามารถในการช่วยเหลือ เพราะเหตุผลที่ว่า 
         1.บุคคลากรที่อยู่ในวัดร่วมหมื่น  ถ้าเอาคนมีโรคมาควบคุม  ก็จะเป็นอันตรายกับคนที่อยู่ภายในวัดอยู่แล้ว  อาจจะทำให้ติดเชื้อโรคได้ 
         2.บุคคลากรทางด้านการแพทย์ แม้ขณะนี้ยังมีไม่เพียงพอที่จะดูแลบุคคลากรภายในองค์กร  เมื่อ
เจ็บป่วยยังต้องส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลใกล้เคียง 
   

        ส่วนสถานที่จะใช้เป็นพื้นที่เป็นศูนย์ควบคุม COVID-19  ก็มีอยู่หลายที่ทั้งโรงพยาบาลและสถานที่ราชการ โดยเฉพาะโรงพยาบาลต่าง ๆ ควรมีการจัดให้มีสถานที่รองรับ ในการดูแล เป็นศูนย์ควบคุม  เฝ้าดูอาการของ COVID-19
         นอกจากนี้ ที่สนามบิน น่าจะมีการจัดโซนให้ผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศพักดูอาการชั่วคราวด้วย  
          เพราะฉะนั้น การที่จะเอาวัดพระธรรมกาย มาเป็นศูนย์ควบคุม COVID-19   จึงไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง  ตามเหตุผลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ 
           



ชนะวิกฤต​ Covid-19 ด้วยการสวดมนต์เป็นไปได้จริงหรือไม่

ชนะวิกฤต​ Covid-19   ด้วยการสวดมนต์เป็นไปได้จริงหรือไม่       ช่วงนี้คงได้ข่าวเกี่ยวกับ รมต.สำนักนายก ได้เสนอให้มหาเถรสมาคม  ถ่ายท...