วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดสระเกศ..วัดสามพระยาและ เจ้าคณะกรุงเทพ

มส. แต่งตั้ง​เจ้าอาวาส​

 ‘วัดสระเกศ...วัดสามพระยา’

และแต่งตั้งเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร 



แต่งตั้ง​เจ้าอาวาส​วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 



มติ​มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง​ให้​


พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย ป.ธ.๗)

วัดสระ​เกศ​ราช​วรมหาวิหาร​ เขตป้อมปราบ​ศัตรู​พ่าย​ 
กรุงเทพ​มหานคร


อายุ ๕๔ ปี พรรษา ๓๓



ให้ดำรงตำแหน่ง “​เจ้าอาวาส​วัดสระ​เกศ​ราช​วรมหาวิหาร​”


**************************




แต่งตั้ง​เจ้าอาวาส​วัด​สามพระยา​วรวิหาร ๏
มติ​มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง​ให้​
พระเทพวิสุทธิดิลก
(ละเอียด กิตฺติสุขุโม ป.ธ.๙)

วัด​สามพระยา​วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อายุ ๗๖ ปี พรรษา ๕๖
ให้ดำรงตำแหน่ง “​เจ้าอาวาส​วัด​สามพระยา​วรวิหาร”
เขตพระนคร​ กรุงเทพ​มหานคร

**************************



แ ต่ ง ตั้ ง เ จ้ า ค ณ ะ ก รุ ง เ ท พ ม ห า น ค ร 

มติมหาเถรสมาคม แต่งตั้งให้
พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท ป.ธ.๓)
เจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร

อายุ ๗๖ พรรษา ๕๗
ให้ดำรงตำแหน่ง “เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร”


*********************************

ขอบคุณ

เพจ พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย
และน้อมถวายมุทิตาสักการะในโอกาสอันเป็นมงคลนี้

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กรรมการมหาเถรสมาคมชุดปี 2562

กรรมการมหาเถรสมาคม 
พุทธศักราช ๒๕๖๒
                 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) ทรงโปรดให้คณะกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่ เข้าถวายสักการะ จากนั้นทรงมีพระโอวาทว่า “กรรมการมส.ชุดนี้ มีทั้งที่เคยปฏิบัติหน้าที่มาแล้ว และที่เพิ่งจะได้ปฏิบัติหน้าที่ใหม่เป็นวาระแรกในคราวนี้ ขอถวายกำลังใจแด่ทุกท่านในการปฏิบัติหน้าที่ให้ได้เต็มกำลังความสามารถ ด้วยความหนักแน่นมั่นคงในปณิธาน เพื่อความสถิตสถาพรของพระบวรพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทย”

๑. #สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

๒. #สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร

๓. #สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร

๔. #สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธิ์ เขมงฺกโร) วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร

๕. #สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร

๖. #สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร

๗. #พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) วัดปากน้ำกรุงเทพมหานคร

๘. #พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร

๙. #พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) วัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร

๑๐. #พระพรหมวิสุทธาจารย์ (มนตรี คณิสฺสโร) วัดเครือวัลย์ กรุงเทพมหานคร

๑๑. #พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร) วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร

๑๒. #พระวิสุทธาธิบดี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร

๑๓. #พระพรหมมุนี (บุญเรือง ปุญฺญโชโต) วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร

๑๔. #พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม  กรุงเทพมหานคร

๑๕. #พระธรรมธัชมุนี (อมร ญาโณทโย) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร

๑๖. #พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร

๑๗. #พระธรรมปริยัติโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ) วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพมหานคร

๑๘. #พระธรรมปาโมกข์ (สุนทร สุนฺทราโภ) วัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร

๑๙. #พระธรรมกิตติเมธี (เกษม สญฺญโต) วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพมหานคร

๒๐. #พระธรรมรัตนดิลก (สมเกียรติ โกวิโท) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร

                      สมเด็จพระสังฆราช มีพระโอวาทต่อไปว่า “ขอให้ทุกท่านระลึกถึงพระเดชพระคุณของบูรพาจารย์ มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปฐม ตลอดจนถึงอดีตพระมหาเถระที่ท่านเคารพบูชาเป็นครูบาอาจารย์ด้วยความกตัญญูกตเวที แล้วศึกษาทบทวนใคร่ครวญให้ถ้วนถี่ว่าแต่ละพระองค์และแต่ละท่านได้ทำอย่างไร วางตัวอย่างไร ประพฤติดีปฏิบัติชอบอย่างไร ทุ่มเทอุทิศสรรพกำลังเพื่อการพระศาสนาอย่างไร จึงเป็นที่กราบไหว้ได้เต็มมือ และสนิทใจ เหตุไฉนบูรพาจารย์พระองค์นั้นๆ หรือท่านนั้นๆ จึงสถิตในที่สูงเป็นทิฏฐานุคติของอนุชน ยังมีกลิ่นหอมของศีล ปัญญา อบอวลทวนกระแสกาลเวลานับร้อยนับพันปีไม่จืดจางหาย ให้พวกเราได้ชื่นใจเมื่อได้ระลึกถึงตราบเท่าทุกวันนี้ 

                     บัดนี้ ท่านได้ชื่อว่าเป็นมหาเถระเป็นผู้ปกครองคณะสงฆ์ มีตำแหน่งอยู่ในมส.พุทธบริษัทไทยเฝ้ามองการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน และตั้งความหวังไว้ที่ท่านท่านจะประคับประคอง สนองภารธุระของการคณะสงฆ์ให้ราบรื่นเรียบร้อย สามารถฟันฝ่าปัญหาและอุปสรรคไปได้อย่างไร แบบนั้นมีอยู่แล้ว ขอจงอย่าทิ้งทางครู โดยเฉพาะทางของสมเด็จพระบรมครู ผู้ยังเสด็จดำรงอยู่เป็นศาสดาของพวกเรา ในองค์คุณแห่งพระธรรมวินัย 

                      ขอถวายกำลังใจแด่ทุกท่านอีกครั้ง ขออาราธนาให้ท่านตั้งปณิธาน อุทิศชีวิตนี้เพื่อบูชาคุณพระรัตนตรัยด้วยปฏิบัติบูชา ขอให้เห็นแก่ความเจริญมั่นคงของคณะสงฆ์เป็นอุดมการณ์สูงสุด เพื่อสนองพระบรมราชปณิธานของสมเด็จพระมหากษัตริยาริราชเจ้าทุกๆ พระองค์และสนองคุณของบรรพชนไทย ที่สู้อุตส่าห์เสียสละชีวิตเลือดเนื้อหยาดเหงื่อ กำลังกาย กำลังใจและกำลังสติปัญญา เพื่ออุปถัมภ์และพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาไว้บนแผ่นดินไทย” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๖.๐๐ น. ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

ภาพ/ข่าว : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ขอบคุณ (เพจคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี) ...https://web.facebook.com/wkk59/

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ปรากกการณ์ใหม่..วิธีเลือกตั้งเจ้าอาวาส

ครั้งแรก..วงการสงฆ์ เลือกตั้ง  'เจ้าอาวาส'
               สัปดาห์นี้ไปดูการเลือกตั้งเจ้าอาวาสรูปใหม่ของวัดอินทาราม กาญจนบุรี กับคำถามมากมาย เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ต้องสะสาง สังหรณ์ใจอย่างไรไม่รู้ว่า “ต่อจากนี้ไประบบการแต่งตั้งเจ้าอาวาส” จะเป็นไปในทิศทางใด

                เดิมทีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสเป็นอำนาจของเจ้าคณะตำบลในตำบลนั้นๆ จะร่วมพิจารณากับพระภิกษุสงฆ์ กรรมการวัด ชาวบ้านในชุมชนนั้นๆ จะเสนอพระภิกษุที่มีคุณสมบัติควรที่จะดำรงเจ้าอาวาส ซึ่งมีอย่างน้อย 3 ประการคือ มีพรรษาครบ 5 พรรษา, จบนักธรรมเอก , ไม่เคยต้องคำวินิจฉัยลงโทษในอธิกรณ์ที่พึงรังเกียจมาก่อน เมื่อได้พระภิกษุมีคุณสมบัติเบื้องต้นครบดังนี้แล้ว เจ้าคณะตำบลก็เสนอ เจ้าคณะอำเภอๆ ก็เสนอเจ้าคณะจังหวัดแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสต่อไป



                    กรณีวัดหนองขาว ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์เท่าที่รู้เป็นครั้งแรกในวงการคณะสงฆ์ที่มีการ “เลือกตั้ง” เจ้าอาวาส ตามข่าวมีพระภิกษุที่สมัครเลือกตั้งมี 2 รูป เป็นลูกหลานของคนหนองขาวโดยกำเนิด แต่มาเรียนอยู่ที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ สุดท้ายชาวบ้านเลือกพระที่เรียนอยู่กรุงเทพฯ เป็นเจ้าอาวาส



                     ผมไม่คิดว่าความรู้สึกพระที่จำพรรษาในวัดอินทารามหรือวัดหนองขาว ที่มีคุณสมบัติเป็นเจ้าอาวาส แต่ไม่ได้เสนอให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นอย่างไร

                    ผมไม่รู้ว่ากองเชียร์หรือญาติของพระภิกษุที่ไม่ได้รับเลือกตั้ง “จะรับได้” หรือไม่ ต่อจากนี้ไปการร่วมกันพัฒนาวัดที่ชุมชนเคยมีความรู้สึกร่วมว่า “วัดเป็นของเรา” จะเหมือนเดิมไหม

                       วัดหนองขาวแห่งนี้เดิมทีก็มีอาถรรพ์มาตลอดในวงการสงฆ์กาญจนบุรีรับรู้กันทั่วไปว่า “เจ้าที่แรง” พระภิกษุต่างถิ่นใครมาเป็นเจ้าอาวาสมักอยู่ไม่ได้

                      แต่สิ่งที่ผมสนใจและคิดว่า “อนาคตต่อจากนี้ไป” หากคณะสงฆ์ยอมรับสิ่งที่ชาวบ้านหนองขาวคิดและทำ สังคมสงฆ์ปั่นป่วนแน่ และจะก่อให้เกิด “ความแตกแยก” เหมือนกับการเลือกตั้งท้องถิ่น เหมือนกับการเลือกตั้ง “กำนัน ผู้ใหญ่” บ้านแน่ๆ



                       บางเรื่องคณะสงฆ์ต้องยึด “พระวินัย” ต้องยึด “กฎระเบียบคณะสงฆ์” ไปอธิบายให้ชาวบ้านเขารู้และเข้าใจบ้าง มิใช่ยอมไปทุกเรื่อง เรื่องการเลือกตั้งเจ้าอาวาสหนองขาว พระเทพปริยัติโสภณ หรือเจ้าคุณปัญญา เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ต้องลงมาสะสางหรือมาทำความเข้าใจกับชาวบ้านและคณะสงฆ์ในการปกครอง อะไรที่ควรและไม่ควร “สิทธิ” ความคิดของคนยุคใหม่ มิใช่ไม่ดี แต่มันต้องมีขอบเขต

                   หวังว่าเรื่องการเลือกตั้งเจ้าอาวาสวัดอินทารามหรือวัดหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรีนี้ คงไม่ลามไปสู่จังหวัดและชุมชนอื่นๆ
…...........................

คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/737874

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/737874

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ประวัติและผลงานของกรรมการมหาเถรสมาคม 
ที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ 
วันจันทร์ที่ ๑๔   ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ 

เมื่อวันที่ ๑๔ ต.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๖๑  มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘ ก.ค.๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ ตรี มาตรา ๑๒  และมาตรา ๑๕  ทวิ แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕  แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๖๑ และมาตรา  ๑๑  แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๖๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม จำนวน ๒๐  รูป ดังนี้
๑.สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ 
๒.สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส
 ๓.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยาราม 
๔.สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธิ์ เขมงฺกโร) วัดยานนาวา 
๕.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 
.สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) วัดไตรมิตรวิทยาราม
๗.พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) วัดปากน้ำ 
๘.พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) วัดปากน้ำ 
๙.พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) วัดประยุรวงศาวาส 
๑๐.พระพรหมวิสุทธาจารย์ (มนตรี คณิสฺสโร) วัดเครือวัลย์
๑๑.พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร) วัดปทุมคงคา 
๑๒.พระวิสุทธาธิบดี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) วัดสุทัศนเทพวราราม 
๑๓.พระพรหมมุนี (บุญเรือง ปุญฺญโชโต) วัดพระศรีมหาธาตุ 
๑๔.พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม 

๑๕.พระธรรมธัชมุนี (อมร ญาโณทโย) วัดปทุมวนาราม 
๑๖.พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก 

๑๗.พระธรรมปริยัติโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ) วัดบพิตรพิมุข 
๑๘.พระธรรมปาโมกข์ (สุนทร สุนฺทราโภ) วัดราชผาติการาม 
๑๙.พระธรรมกิตติเมธี (เกษม สฺญญโต) วัดราชาธิวาสวิหาร 
๒๐.พระธรรมรัตนดิลก (สมเกียรติ โกวิโท) วัดอรุณราชวราราม 


.................................................

ประวัติโดยสังเขป  กรรมการมหาเถรสมาคม

เจ้าประคุณ สมเด็จพระวันรัต
 (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.๙)

สมเด็จพระวันรัต ฉายา พฺรหฺมคุตฺโต  ป.ธ. ๙   วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


นามเดิม จุนท์ นามสกุล พราหมณ์พิทักษ์  เกิด วันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๙ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปี ชวด  ณ บ้านเกาะเกตุ ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด

นามบิดา นายจันทร์ พราหมณ์พิทักษ์  นามมารดา นางเหล็ย พราหมณ์พิทักษ์  บรรพชา วันจันทร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปี ฉลู วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑   ณ วัดคิรีวิหาร ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด  มี พระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตฺตโร ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดคิรีวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวินัยเวที)

อุปสมบท  วันอาทิตย์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙  ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร  กรุงเทพมหานคร   
พระกรรมวาจาจารย์ พระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตฺตโร ) วัดคิรีวิหาร จังหวัดตราด
พระอนุสาวนาจารย์ พระครูวิสุทธิธรรมภาณ (แจ่ม ธมฺมสาโร ป.ธ.๔) (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระมหานายก และพระราชบัณฑิต ตามลำดับ)

พ.ศ. ๒๔๙๑ สำเร็จวิชาสามัญศึกษา (ป.๔) จากโรงเรียนวัดคิริวิหาร ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด

พ.ศ. ๒๔๙๕ สอบประโยค น.ธ. เอก ได้ในสนามหลวงสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ. ๒๕๑๖ สอบได้ประโยค ป.ธ.๙ ได้ในสนามหลวงสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

- เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
- เป็นกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร
- เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
- เป็นผู้อำนวยการศึกษา สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
- เป็นเจ้าคณะขาบบวร-เขียวบวร
- เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)
- เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต
- เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธรรมยุต)
- เป็นอนุกรรมการฝ่ายการปกครอง ของมหาเถรสมาคม
- เป็นพระอุปัชฌาย์
- เป็นกรรมการสนามหลวง แผนกบาลี
- เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง
- เป็นกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
- เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
- เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย
- เป็นผู้รักษาการ เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- เป็นผู้รักษาการ เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร

- เป็นกรรมการชำระพระไตรปิฎก ฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๖๐ พรรษา
  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- เป็นกรรมการชำระอรรถกถา ฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๖๐ พรรษา
  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- เป็นผู้แสดงพระธรรมเทศนา ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล, งานพระราชพิธีฯ ในบางโอกาส
- เป็นผู้ถวายการสอนพระธรรมวินัยแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
  ในคราวทรงทรงผนวช เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
- เป็นกรรมการกองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย
- เป็นหัวหน้ากองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย
- เป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
- เป็นประธานคณะกรรมการตำราและวิชาการ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
- สนองงานถวายเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ ที่ได้รับพระบัญชาในบางโอกาส
ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิง พระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส- ราชนครินทร์ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ พระพรหมมุนี ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง


งานพิเศษ

ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๓ (ธรรมยุต) ในจังหวัดสิงห์บุรี, อุทัยธานี,ลพบุรี
พ.ศ. ๒๕๔๑
- ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๗ (ธรรมยุต) ในจังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๔๓
ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๑๒ (ธรรมยุต) ในจังหวัดจันทบุรี
- ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๑๓ (ธรรมยุต) ในจังหวัดปราจีนบุรี
พ.ศ. ๒๕๔๕
ตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาค ๘ (ธรรมยุต)
- รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี (ธรรมยุต)


สมณศักดิ์


พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอมรโมลี
พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่
พระราชสุมนต์มุนี ศรีปริยัติบวรวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่
พระเทพกวี ศรีปริยัติวิภูษิต ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่
พระธรรมกวี ศรีธรรมประยุต วิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับพระราชทานสถาปนา สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัณยบัฏ ที่
พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ธรรมสาธกวิจิตรปฏิภาณ ปริยัติวิธานกิจจการี ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับพระราชทานสถาปนา สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นหิรัณยบัฏ ที่
สมเด็จพระวันรัต ศรีวชิรญาณวงศวิวัฒ ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี

.......................................................

สมเด็จพระธีรญาณมุนี 

(สมชาย วรชาโย ป.ธ.๘)



สมเด็จพระธีรญาณมุนี มีนามเดิมว่า สมชาย พุกพุ่มพวง เกิดเมื่อวันพุธที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นชาวจังหวัดนครปฐม

บรรพชาอุปสมบทในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าตำหนัก ตำบลท่าตำหนัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยมีพระวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) เจ้าอาวาสวัดท่าตำหนัก เป็นพระอุปัชฌาย์

     ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมีพระธรรมธัชมุนี (เอื้อน ชินทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยวงศาจารย์ (นาค อิสินาโค) เป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ และพระครูวิมลญาณโสภณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 

การศึกษา  


นักธรรมชั้นเอกพ.ศ. ๒๕๑๖ สอบได้ เปรียญธรรม ๘ ประโยค



ฝ่ายปกครอง


พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น เลขานุการรองเจ้าคณะภาค 
๑ - ๒ - ๓ และ ๑๒ - ๑๓ (ธ)

พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๓๑ เป็น เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑ - ๒
 - ๓ และ ๑๒ - ๑๓ (ธ)

พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น เป็นกรรมการและเลขานุการ 
วัดเทพศิรินทราวาส

พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็น รองเจ้าคณะภาค ๑ - ๒ - ๓
 และ ๑๒ - ๑๓ (ธ)

พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็น กรรมการคณะสงฆ์ธรรมยุต

พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็น พระอุปัชฌาย์วิสามัญ

พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็น เจ้าคณะภาค ๑ - ๒ - ๓ , ๑๒ - ๑
๓ (ธ)

พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น เลขาธิการคณะสงฆ์ธรรมยุต

พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๒ เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม

พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็น เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส
ราชวรวิหาร

พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๖ เป็น คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระ
สังฆราช

พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค 
๑ - ๒ - ๓ , ๑๒ - ๑๓ (ธ)

พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม


ฝ่ายการศึกษา



พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็น ที่ปรึกษาแม่กองธรรมสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น ประธานกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม
 แผนกสามัญศึกษา


สมณศักดิ์



พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น พระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ พิพิธธรรมโกศล 
วิมลสุตาคม อุดมคณานุนายก ตรีปิฎกญาณวิจิตร ฐานานุกรมในพระสาสนโสภณ (นิรันตร์ นิรนฺตโร)

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระอมราภิรักขิต

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชธรรมสุธี ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพ
วรเมธี ศรีปฏิภาณธรรมสาธก ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวรเมธี ศรีปฏิภาณธรรมสาธก ตรีปิฎกวิภูษิต สาสนกิจวิวัฒนาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมเมธี ศรีปฏิภาณธรรมโกศล สุวิมลคณาทร บวรธรรมวรนายก ตรีปิฎกวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระธีรญาณมุนี ศรีชินทัตตวรางกูร วิบูลสีลาจารวิมล คณโสภณเลขาธิกร สุนทรปริยัติดิลก ตรีปิฎกวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

...........................................................

สมเด็จพระพุฒาจารย์ 

(สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.๙)




สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า สนิท นามสกุล วงษา เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ณ บ้านเลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๖ ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา

อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ณ วัดเกาะแก้วเวฬุวัน อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีพระอดุลสารมุนี วัดท่าเกวียน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระอุปัชฌาย์

การศึกษา  

พ.ศ. ๒๔๙๘ สำเร็จการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดเกาะแก้วเวฬุวัน อำเภอราชสาส์น

พ.ศ. ๒๕๐๑ สอบได้ นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดท่าเกวียน

พ.ศ. ๒๕๐๗ จบการศึกษาชั้น มศ.๓ จาก โรงเรียนปริยัติธรรมวัดไตรมิตรวิทยาราม (สาขา ๑ วัดท่าเกวียน)

พ.ศ. ๒๕๑๙ สอบได้ เปรียญธรรม ๙ ประโยค สำนักเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม


ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์พ.ศ. ๒๕๔๒ได้รับถวายปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร

ฝ่ายปกครอง

พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตร
 วิทยารามวรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็น รองเจ้าคณะภาค ๘
พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็น เจ้าคณะเขตป้อมปราบฯ 
- ปทุมวัน
พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็น พระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ
พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็น เจ้าอาวาสวัดไตรมิตร
 วิทยารามวรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็น เจ้าคณะภาค ๘
พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม
 (โดยแต่งตั้ง)
พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็น เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๒ เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม
 (โดยตำแหน่ง)
พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม
 ประธานกรรมการ ศูนย์ควบคุมการ
ไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุ
สามเณร (ศ.ต.ภ.)

ฝ่ายการศึกษา

กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ
เปรียญ ที่ พระศรีวีราภรณ์

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่
 พระราชวีราภรณ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม
 คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพปัญญาเมธี ศีลาจารวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต 
มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมปริยัติโสภณ วิมลศีลาจารวินิฐ พิพิธกิจจานุกิจ 
ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง
 ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมเวที ศรีสังฆโสภณ 
วิมลศีลาจาร สุวิธานปริยัติกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร
 บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่
 สมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสุวรรณมหาวิหารวรากร 
สุนทรอรัญญิกมหาปริณายก ดิลกกิจจานุกิจโกศล 
วิมลศีลาจารนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม
คามวาสี อรัญวาสี

..........................................................................

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ 
(ปสฤทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.๓)

ชาติภูมิ   

 สมเด็จพระมหาธีราจารย์ นามเดิม ประสิทธิ์ 

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ปสฤทธิ์-(อ่านว่า ประสิทธิ์) 
นามสกุล สุทธิพันธ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม 
พ.ศ. ๒๔๘๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ ปีฉลู 
ที่บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน 
จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ ขุนก่อเอ้อุกฤษ
 (ผา สุทธิพันธุ์) มารดาชื่อ นางก่อเอ้อุกฤษ 
(ตา สุทธิพันธุ์)


บรรพชา 

วันที่ ๓ เมษายน ๒๔๙๑ ที่วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พระครูพินิฐศีลคุณ เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่าง บ้านโนนใหญ่ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์



     อุปสมบทเมื่อ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๐๑ ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พระธรรมธีรราชมหามุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส (ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นที่สมเด็จพระธีรญาณมุนี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยกิจโกศล (อิน ติสฺสสโร ป.ธ.๖) (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชปัญญามุนี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระมหาบุญมา ทีปธมฺโม ป.ธ.๖ (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระพุทธิวงศมุนี) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมงฺกโร



การศึกษา

พ.ศ. ๒๔๙๑ สำเร็จการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ 
โรงเรียนประชาบาล (พรหมพิทยา) บ้านยางน้อย 
ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๔๙๗ สอบได้ นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดยางน้อย
 ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๔๙๗ สอบได้ นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดยางน้อย
 ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๔๙๗ สอบได้ นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัด
มณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๕๐๑ สอบได้ เปรียญธรรม ๓ ประโยค 
สำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร 
กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๐๓ จบชั้น บาลีอบรมศึกษา จาก 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร


เกียรติคุณ

พ.ศ. ๒๕๒๘ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
กิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ (พธ.ด.) 
จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๕๓๕ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร
และเกียรติบัตร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
ฯ สยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. ๒๕๔๓ได้รับถวายปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัญฑิต
กิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษาศาสตร์ (คบ.ด.)

พ.ศ. ๒๕๔๓ได้รับถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษาศาสตร์ (ปบ.ด.)
 จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ. ๒๕๔๙ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Doctor 
of Philosophy in Social Science, New Port 
University U.S.A.,

พ.ศ. ๒๕๕๐ได้รับถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
กิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา (ศบ.ด.)
 จากมหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร


ฝ่ายปกครอง

พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๐ เป็น เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ

พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๓๐ เป็น เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หน
ตะวันออก

พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ
ราชาวาส

พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๑๐ เป็น เจ้าคณะตรวจการภาค ๓

พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็น พระอุปัชฌาย์ประเภทวิสามัญ

พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม

พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น เจ้าอาวาสวัดยานนาวา พระอาราม
หลวง

พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐

พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒ เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม

พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม

ฝ่ายการศึกษา

พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็น ผู้ช่วยเจ้าสำนักเรียนวัดจักวรรดิราชาวาส 
กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น เจ้าสำนักเรียนวัดยานนาวา 
กรุงเทพมหานคร

กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย

งานเผยแผ่

ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูต
ไปต่างประเทศ

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็น พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ ไพบุลคณิสสร
 บวรสังฆานุนายก ฐานานุกรมใน พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 
(ธีร์ ปุณณโก ป.ธ.๙) วัดจักรวรรดิราชาวาสฯ

พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็น พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์ ญาณโสภณ
 วิมลศีลขันธ์สุนทร บวรมหาคณาธิการนายก ปิฎกธรรมรักขิต
 ฐานานุกรมใน สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณณโก ป.ธ.๙) 
วัดจักรวรรดิราชาวาสฯ

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ
เปรียญ ที่ พระสุธีรัตนาภรณ์

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ 
พระราชรัตนาภรณ์ บวรธรรมานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม
 คามวาสี

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ 
พระเทพประสิทธิมนต์ วิเทศธรรมโกศล ญาณโสภณวิจิตร
 ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ 
พระธรรมวชิรญาณ ปฏิภาณธรรมวาที ศรีวิเทศธรรมโกศล 
วิมลสาธุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง 
ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมวชิรญาณ ไพศาลศาสนกิจสิทธิ
ปริณายก ธรรมวิเทศดิลกสุทธิกวีปาพจนโสภณ
 วิมลสีลาจารวินิฐ ราชวิสิฐวชิราลงกรณ มหาคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น สมเด็จพระราชาคณะ 
ที่ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก
 ดิลกธรรมวิเทศโกศล วิมลปาพจนกวีวราลังการ 
ไพศาลอรรถธรรมานุสิฐ พิพิธกิจจานุกิจสาทร มหาคณิสสร
 บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

.....................................................................................

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ 

(สุชิน อคฺคชิโน)

ชาติภูมิ


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า สุชิน มงคลแถลง เกิดเมื่อ
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ ตำบลปลายกลัด 
อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


                                    บรรพชาและอุปสมบท

บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน 
พ.ศ. ๒๕๐๔ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร 
โดยมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (วาสน์ วาสโน) 
เป็นพระอุปัชฌาย์


     อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ 
พ.ศ. ๒๕๑๓ ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ราชวรวิหาร โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
 (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสิริวัฒนเมธี
 (ทองคำ กมพุวณโณ) และพระราชภัทราจาร (เปล่ง กุวโม) 
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวิจิตรธรรมคุณ
 (เจียร เขมาจาโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า 
อคฺคชิโน


การศึกษา

               ธรรมศึกษาชั้นเอก


ฝ่ายการปกครอง

               เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม

ฝ่ายการศึกษา


 เป็น แม่กองธรรมสนามหลวง

งานเผยแผ่


หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๗

สมณศักดิ์


พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็น พระครูคู่สวด ที่ พระครูเมธังกร
 ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วาสน์ วาสโน)

พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็น พระครูคู่สวด ที่ พระครูโฆษิตสุทธสร
 ฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)

พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็น พระครูฐานานุกรมชั้นโท ของ
สมเด็จพระสังฆราช ที่ พระครูวิจารณ์ภารกิจ
 ฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)

พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็น พระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จ
พระสังฆราช ที่ พระครูสุตตาภิรม ฐานานุกรมในสมเด็จ
พระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ 
ที่ พระชินวงศเวที

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชปฏิภาณโกศล วิมลกิจจาทร ธรรมิกคณิสสร
 บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพวรเมธี ศรีปฏิภาณโกศล สุวิมลคณาทรยติคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ 
พระธรรมวรเมธี ศรีปริยัตินายก ดิลกศาสนกิจ วิจิตรธรรม
คุณาภรณ์ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง
 ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมมุนี ศรีวาสนวรางกูร
 วิบูลสีลาจารโสภณ โกศลปริยัติวิธาน บริหารศาสนกิจ 
ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น สมเด็จพระราชาคณะ 
ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต 
ชินวรุตมธรรมวาทปวิธ วิจิตรวาสนวรางกูร วิบูลสีลาจารวัตร
ราชานุวัตวิธาน ปริยัตยาธิการบริหารศาสนกิจ 
ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี


...........................................................................

สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี 

(ธงชัย ธมฺมธโช ป.ธ.๖)



     สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี มีนามเดิมว่า ธงชัย 
เอี่ยมสอาด เกิดเมื่อวันวันเสาร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ 
พ.ศ. ๒๔๙๖ ภูมิลำเนาอยู่บ้านแหลมแค ตำบลหน้าประดู่ 
อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี


บรรพชาอุปสมบท


     บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ ธันวาคม 
พ.ศ. ๒๕๑๐ ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม โดยมี 
พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ไสว ฐิตวีโร) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตร
วิทยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์

     อุปสมบทเป็นภิกษุ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ เมษายน 
พ.ศ. ๒๕๑๗ ณ พระอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม โดยมี 
พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร) เป็นพระอุปัชฌาย์พระสุวรรณ
ธีราจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์พระสุนทรคุณธาดา 
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ธมฺมธโช

การศึกษา

พ.ศ. ๒๕๑๔ สอบได้ นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดไตรมิตร
วิทยาราม

เกียรติคุณ

ได้รับถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา


ฝ่ายปกครอง


 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

ฝ่ายการศึกษา


ผู้ช่วยแม่กองธรรมสนามหลวง

สมณศักดิ์


พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็น เปรียญธรรม ๖ ประโยค

พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็น พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระอารามหลวง ชั้นเอก ที่ พระครูศรีวิสุทธานุวัตร

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ
เปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระภาวนาวิสุทธาจารย์ วิ.

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชภาวนาวิกรม ธำรงสมถวิปัสสนา
นุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ
 ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพภาวนาวิกรม อุดมธรรมานุสิฐ
 โสภิตศาสนกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม
 ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมภาวนาวิกรม อุดมธรรมานุยุต 
วิสุทธิศาสนกิจวิธาน ไพศาลวิเทศสิกขาวราทร มหาคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง
 ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมมังคลาจารย์ ภาวนากิจวิธานโกศล
 วิมลศีลาจารนิวิฐ พิพิธธรรมปฏิภาณ ไพศาลวิเทศสิกขา
วราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น สมเด็จพระราชาคณะ 
ที่ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ศรีศาสนกิจโกศล วิมลภาวนา
วิกรม อุดมธรรมปฏิญาณ ไพศาลวิเทศสิกขาวราทร 
มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

....................................................................................

พระวิสุทธิวงศาจารย์

 (วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.๙)




ชาติภูมิ

พระวิสุทธิวงศาจารย์ เดิมชื่อ วิเชียร เรืองขจร เกิดวันอาทิตย์ ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐ ปีฉลู ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ บ้านบางพลับ ตำบลบางพลับ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

บรรพชาอุปสมบท

     บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน 
พ.ศ. ๒๔๙๔ ณ วัดดงตาล ตำบลบางพลับ อำเภอสองพี่น้อง
 จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี พระครูอุภัยภาดารักษ์ วัดสองพี่น้อง
 เป็นพระอุปัชฌาย์

     อุปสมบทเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ 
ณ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 
โดยมีพระธีรสารมุนี วัดอัปสรสวรรค์ เขตภาษีเจริญ 
กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์


การศึกษา

พ.ศ. ๒๔๙๒ สำเร็จการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔
 โรงเรียนวัดท่าจัด อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

เกียรติคุณ

ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 
สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย



ฝ่ายปกครอง


 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ

ฝ่ายการศึกษา


 เป็น กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง

งานเผยแผ่


 เป็น รองแม่กองงานพระธรรมทูต รูปที่ ๑

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ 
พระเมธีวราภรณ์

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปริยัติกวี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสุธี ธรรมปรีชาญาณดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมธีรราชมหามุนี คัมภีรญาณวิมล โสภณธรรมานุสิต ตรีปิฎกบัณฑิตมหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี


๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระวิสุทธิวงศาจารย์ ญาณทัศนวิกรม พรหมจริยาธิมุต วิสุทธิธรรมานุจารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม


.......................................................................................................................

พระพรหมโมลี 
(สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.๙)


ชาติภูมิ

พระพรหมโมลี มีนามเดิม สุชาติ นามสกุล สอดสี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ปีมะเมีย ณ บ้านบางงาม ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

บรรพชาอุปสมบท

 บรรพชา วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ ณ วัดเกาะ
ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 
โดยมีพระครูวรนาถรังษี หรือหลวงพ่อปุย วัดเกาะ 
เป็นพระอุปัชฌาย์


     บรรพชาศึกษาเล่าเรียนจวบจนสอบไล่ได้เปรียญธรรม
๙ ประโยค ต่อมาอุปสมบทเป็นนาคหลวงในพระบรม
ราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย
เดช (รัชกาลที่๙) เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ 
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แขวงพระบรมมหาราชวัง 
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระพุทธ
โฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา เป็นพระอุปัชฌาย์
 สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม 
ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปิฎก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ 
และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) 
วัดปากน้ำภาษีเจริญ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมธีรราช
มหามุนี เป็นพระอนุสาวนาจารย์


การศึกษา

ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช

ฝ่ายปกครอง

              เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระอารามหลวง

ฝ่ายการศึกษา

 เป็น ครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดปากน้ำ

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ 
ที่ พระศรีศาสนวงศ์

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชพุทธิญาณวงศ์ ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพมุนี ศรีปริยัติวรกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปัญญาภรณ์ สุนทรธรรมปฏิบัติ ปริยัติวิธานวิศิษฐ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมโมลี ศรีสังฆโสภณ วิมลศีลาจารนิวิฐ ปริยัติกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี



..............................................................................................................




พระพรหมบัณฑิต 
(ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙ ,ศ.ดร.)


ชาติภูมิ

 พระพรหมบัณฑิต มีนามเดิมว่า ประยูร มีฤกษ์ เกิดเมื่อ
วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ณ ตำบลโพธิ์พระยา
 อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี


บรรพาอุปสมบท

บรรพชา เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ณ วัดสามจุ่น
อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี 
พระครูศรีคณานุรักษ์ วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์


     อุปสมบท (นาคหลวง) เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๑๙ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร)
 วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์, 
พระธรรมปิฎก (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ต่อมาเป็นที่สมเด็จ
พระมหาธีราจารย์) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร 
เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระธรรมธีรราชมหามุนี
(ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระมหารัชมัง
คลาจารย์) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร เป็นพระ
อนุสาวนาจารย์

การศึกษา

พ.ศ. ๒๕๑๒ สอบได้ นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียน
วัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี

เกียรติคุณ

 ได้รับถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ฝ่ายปกครอง

 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ฝ่ายการศึกษา

 เป็น ผู้อำนวยการกองวิชาการ

งานเผยแผ่

              เป็น ประธานองค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาส
วรวิหาร




สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ
เปรียญ ที่ พระเมธีธรรมาภรณ์

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชวรมุนี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม 
คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพโสภณ วิมลปริยัติกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต
 มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร 
ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง
ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมบัณฑิต สิทธิวรธรรมประยุต
วิสุทธิศีลาจารนิวิฐ ไพศาลวิเทศศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต 
มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

สมณศักดิ์ต่างประเทศ

พ.ศ.๒๕๕๑ ได้รับสมณศักดิ์จากรัฐบาลประเทศพม่า 
ที่ อัคคมหาสัทธัมมโชติกธชะ
................................................................................

พระพรหมวิสุทธาจารย์ 

(มนตรี คณิสฺสโร ป.ธ.๕)



ชาติภูมิ


     พระพรหมวิสุทธาจารย์ มีนามเดิมว่า มนตรี บุญถม
เกิดเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ตรงกับวันเสาร์ 
ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง ณ บ้านเลขที่ ๓๖ หมู่ ๔ 
ตำบลโคกสลุด อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี บิดา นายคลาด
 มารดา นางบาง บุญถม


บรรพชาอุปสมบท

บรรพชา เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ณ 
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ถนนเฟื่องนคร 
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมี 
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช 
(วาสน์ วาสโน) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 
เป็นพระอุปัชฌาย์


     อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ณ 
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ถนนเฟื่องนคร 
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมี 
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช 
(วาสน์ วาสโน) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมสิริวัฒน์ (ทองคำ กมฺพุวณฺโณ) 
ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสิริวัฒน์เวที 
เป็นพระกรรมวาจาจารย์


การศึกษา

นักธรรมชั้นเอก

ฝ่ายปกครอง

เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราช
วรวิหาร

ฝ่ายการศึกษา

รองแม่กองธรรมสนามหลวง

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็น พระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จ
พระสังฆราช ที่ พระครูวินยาภิวุฒิ ฐานานุกรมในสมเด็จ
พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ
เปรียญ ที่ พระสิริรัตนสุธี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชกวี ศรีธรรมวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม
 คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพกวี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกประสาธนกิจ 
ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมวราภรณ์ สุนทรธรรมภาณี ตรีปิฎกวจนาลังการ 
ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง
ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมวิสุทธาจารย์ วาสนภิธานวรางกูร 
วิบูลสีลาจารวัตรวิมล โสภณปริยัติดิลก ตรีปิฎกคุณาภรณ์ 
ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

..........................................................................................

พระพรหมเสนาบดี 

(พิมพ์ ญาณวีโร ป.ธ.๗)


ชาติภูมิ

     พระพรหมเสนาบดี นามเดิมว่าพิมพ์ บุญรัตนาภรณ์
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ตรงกับวัน
ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีระกา ที่บ้านเลขที่ ๑๐๖ หมู่ที่ ๓
 ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 
บิดาชื่อนายบุญ บุญรัตนาภรณ์ มารดารชื่อนางสวย 
บุญรัตนาภรณ์


อุปสมบท


     อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันอังคารที่ ๒๖ กรกฎาคม 
พ.ศ. ๒๕๐๙ ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘-๘ ปีมะเมีย ณ 
วัดนาสาร ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร 
จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีพระเทพรัตนกวี (เกตุ ธมฺมวโร) 
อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดไตรธรรมาราม 
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูโสภิตคุณานันท์ อดีตเจ้าคณะ
อำเภอบ้านนาสาร วัดนาสาร อำเภอบ้านนาสาร 
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ 
และพระครูพิศาลคุณาภรณ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ
บ้านนาสาร วัดอภัยเขตตาราม อำเภอบ้านนาสาร 
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า
 "ญาณวีโร"


การศึกษา

พ.ศ. ๒๕๐๐ สำเร็จการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ 
โรงเรียนบางห้าตำลึง (สายบุญเรืองราษฎร์รังสรรค์)
 อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

                

เกียรติคุณ

                ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ฝ่ายปกครอง

 เป็น เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร

ฝ่ายการศึกษา

เจ้าสำนักเรียนวัดปทุมคงคา

สมณศักดิ์

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็น พระครูสัญญาบัตร 
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ที่ 
พระครูศรีปริยัตยาภรณ์

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ
เปรียญ ที่ พระสุธีปริยัตยาภรณ์

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชรัตนดิลก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพรัตนสุธี ศรีธรรมสาธก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ 
มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมคุณาภรณ์ บวรศีลสมาจารวินิฐ วรกิจจานุกิจดิลก
 ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง 
ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมเสนาบดี ศรีสังฆโสภณ 
วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร ตรีปิฎกวราลงกรณ์ 
มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

.........................................................................................

พระวิสุทธาธิบดี 

(เชิด จิตฺตคุตฺโต ป.ธ.๙)


ชาติภูมิ

     พระวิสุทธาธิบดี มีนามเดิมว่า เชิด ฤกษ์ภาชนี 
เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่บ้าน
ตำบลรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย


บรรพชาและอุปสมบท

บรรพชา เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ 
ณ วัดรางจระเข้ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเสนา จังหวัดพระนคร
ศรีอยุธยา โดยมี พระครูปริยัติคุณูปการ (วาสน์ ธมฺมโชโต)
 เจ้าอาวาสวัดบ้านแพนเป็นพระอุปัชฌาย์เรียนพระปริยัติธรรม
กับหลวงลุงโก๋ ปีพ.ศ. ๒๔๙๘ สอบได้นักธรรมชั้นตรี 
ก่อนย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบางกระทิง และสอบได้นักธรรม
ชั้นโท

     จากนั้นมาอยู่กับพระสุเมธมุนี (มังกร กัสสโป) 
อดีตเจ้าอาวาสวัดบางหลวง จ.ปทุมธานี สอบได้เปรียญธรรม
 ๔ ประโยค

     อุปสมบท เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๕ 
ณ วัดรางจระเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี 
พระครูพิศิษฐ์สังฆการ (สมบูรณ์ อิสิญาโณ) เจ้าอาวาส
วัดบางกระทิง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสุเมธมุนี
(มังกร กัสสโป) เจ้าอาวาสวัดบางหลวง เป็นพระกรรมวาจา
จารย์ และพระอธิการกุหลาบ ธมฺมสุทฺโธ เจ้าอาวาส
วัดรางจระเข้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า
 จิตตฺคุตฺโต

การศึกษา   


นักธรรมชั้นเอก


เกียรติคุณ

              ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ฝ่ายปกครอง

 เป็น รองเจ้าคณะภาค ๔

ฝ่ายการศึกษา

กรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง

งานเผยแผ่

รองหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๓

สมณศักดิ์

รองหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๓

พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็น พระครูปลัดสุวัฒนวิสุทธิคุณ 
(พระครูปลัดของพระราชาคณะเจ้าคณะรอง)

พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็น พระครูปลัดสัมพิพัฒนธุตาจารย์
 (พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ)


๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ
เปรียญ ที่ พระศรีวราภรณ์

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชวิสุทธิดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพวิมลโมลี ศรีปริยัติดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต 
มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมรัตนดิลก สาธกศาสนธรรม คัมภีรปัญญาโสภิต
 ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะ
รอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระวิสุทธาธิบดี ศรีธรรมสาธก 
ดิลกปัญญาโกศล วิมลธรรมโวทานธารี ตรีปิฎกบัณฑิต
 มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

.................................................................................

พระพรหมมุนี 

(บุญเรือง ปุญฺญโชโต ป.ธ.๔)



การศึกษา 
ธรรมศึกษาชั้นเอก

 
ฝ่ายปกครอง

 เป็น เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร


สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็น เปรียญธรรม ๔ ประโยค

พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็น พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์ 
สุนทรธรรมปฏิภาณอรรถโกศล วิมลญาณนายก 
ธรรมยุตติกดิลกสถาวีรกิจการี ฐานานุกรมในสมเด็จ
พระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ
เปรียญ ที่ พระสุวีรญาณ

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชวิสุทธิมุนี ศรีวิเทศศาสนภาษิต ยติคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพญาณกวี ศรีปริยัติวราลังการ ศาสนภารธุราทร 
ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมเจติยาจารย์ ศีลาจารวิมล 
โสภณวิเทศศาสนกิจ พิพิธธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม
 คามวาสี

๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะ
รอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมมุนี ศรีธรรมธรวรางกูร 
สุนทรศีลาจารวิมล โสภณวิเทศศาสนกิจ พิพิธภารธุราทร 
ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

.............................................................................................

พระธรรมไตรโลกาจารย์ 

(พูนศักดิ์ วรภทฺทโก ป.ธ.๘ ,ดร.)



ชาติภูมิ

     พระธรรมไตรโลกาจารย์ มีนามเดิมว่า พูนศักดิ์ มาเจริญ 
ฉายา วรภทฺทโก เกิดที่ตำบลโคกสลุด อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี


การศึกษา

นักธรรมชั้นเอก

พ.ศ. ๒๕๐๙ สอบได้ เปรียญธรรม ๘ ประโยค วัดราชประดิษฐสถิต
มหาสีมาราม

พ.ศ. ๒๕๑๐ สำเร็จ ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.) 
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๕๑๒ Master of Arts (M.A.)

พ.ศ. ๒๕๑๙ Doctor of Philosophy (Ph.D.)

                                            ฝ่ายปกครอง

พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมา
รามราชวรวิหาร

พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็น พระอุปัชฌาย์

พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิต
มหาสีมารามราชวรวิหาร

พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราช
วรวิหาร

พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็น รองเจ้าคณะภาค ๑ - ๒ - ๓ , ๑๒ - ๑๓ (ธ)

พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี (ธ)

พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม

ฝ่ายการศึกษา

พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็น ผู้ช่วยแม่กองธรรมสนามหลวง
รองแม่กองธรรมสนามหลวง

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็น เปรียญธรรม ๘ ประโยค

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ 
ที่ พระเมธาธรรมรส

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชบัณฑิต ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพมงคลสุธี ศรีปริยัติดิลก ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร
 ตรีปิฎกวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

.....................................................................






พระธรรมธัชมุนี 

(อมร ญาโณทโย ป.ธ.๗)



ชาติภูมิ


     พระธรรมธัชมุนี เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓ 
ณ บ้านหนามแท่ง ตำบลม่วง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดอุบลราชธานี 
(ปัจจุบันแยกขึ้นกับจังหวัดยโสธร) โยมบิดาชื่อ นายทุย มลาวรรณ
 โยมมารดาชื่อ นางเมือง มลาวรรณ ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่
-ทำนา เรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียนประชาบาลบ้านหนามแท่ง
 อ.มหาชนะชัย จ.อุบลราชธานี


บรรพชาและอุปสมบท

     ครั้นอายุ ๑๓ ปี ได้เข้าบรรพชาที่วัดทุ่งสวนตาล ต.ม่วง
 อ.มหาชัยชนะ โดยมีเจ้าอธิการจวน เจ้าอาวาสวัดบ้านท่าสมอ
และเจ้าคณะตำบลม่วง เป็นพระอุปัชฌาย์ ระหว่างเป็นสามเณรได้
หมั่นเล่าเรียนหาความรู้ศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยความมุ่งมั่น 
พ.ศ. ๒๔๙๘ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ 
ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้ลาสิกขาไปบรรพชาใหม่ ที่วัดปทุมวนาราม
 กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี) 
วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์


     กระทั่งเมื่ออายุ ๒๒ ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ 
ณ พัทธสีมาวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
 (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ 
พระธรรมปาโมกข์ (บุญมั่น มนฺตาสโย) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม
 เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระเทพวราภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด
ปทุมวนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังอุปสมบทได้มุ่งศึกษา
พระปริยัติธรรมทั้งนักธรรมและบาลีอย่างจริงจัง แม้สภาพความเป็นอยู่
ในขณะนั้นจะไม่มีความสะดวกสบายต่อการศึกษาดังเช่นในปัจจุบัน
เท่าใดนัก แต่อาศัยความมุมานะท่องหนังสืออ่านตำราอย่างขะมักเขม้น


การศึกษา

พ.ศ. ๒๔๙๘ สอบได้ นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ




เกียรติคุณ

ได้รับถวายปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ฝ่ายปกครอง

 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม

ฝ่ายการศึกษา

 เป็น ผู้ช่วยแม่กองธรรมสนามหลวง


สมณศักดิ์


พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็น เปรียญธรรม ๗ ประโยค

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ 
ที่ พระกิตติสารกวี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชมุนี ตรีปิฎกอรรถโฆษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพปัญญามุนี ศรีปริยัตินายก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมธัชมุนี ศีลาจารวิมล โสภณปริยัติดิลก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ 
ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี


..........................................................................






พระธรรมบัณฑิต 

(อภิพล อภิพโล ป.ธ.๕)


ชาติภูมิ


พระธรรมบัณฑิต มีนามเดิมว่า อภิพล บุญส่ง เกิดเมื่อวันเสาร์ 
ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ที่
 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ
นายธูป บุญส่ง โยมมารดาชื่อนางมูล บุญส่ง เมื่อครั้งวัยเยาว์ 
สำเร็จการศึกษาสายสามัญชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียน
ในหมู่บ้าน จากนั้นเด็กชายอภิพลได้เดินทางเข้ามากรุงเทพมหานคร 
เพื่อบวชเรียน


บรรพชาอุปสมบท

บรรพชาเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ณ วัดบวรนิเวศราช
วรวิหาร มีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
เป็นพระอุปัชฌาย์ 

     อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ณ พัทธสีมา
วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร
 เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลรัตนมุนี (แก้ว อตฺตคุตฺโต) 
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระราชกวี (สนธิ์ กิจฺจกาโร) 
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 


การศึกษา

นักธรรมชั้นเอก

เกียรติคุณ

ได้รับถวายปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ฝ่ายปกครอง

 เป็น เจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก พระอารามหลวง




สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็น เปรียญธรรม ๕ ประโยค

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็น พระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูปริยัติสาร
โสภณ

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ 
ที่ พระอรรถกิจโกศล

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็น พระราชาคณะปลัดขวา 
ที่ พระมหานายก พุทธปาพจนดิลกโลกปสาทาภิบาล สกลสังฆประธาน
มหาเถรกิจการี คณาธิบดี ศรีรัตนคมกาจารย์ ฐานานุกรมใน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชสุมนต์มุนี ศรีมหาสังฆราชกิจจาทร ธรรมิกคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพญาณวิศิษฏ์ สาธุกิจวิริยาลงกรณ์ บวรกาญจนาภิเษกโสภิต
 ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมบัณฑิต สิทธิธรรมโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร
 ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี


.....................................................................









พระธรรมปริยัติโมลี 

(อาทร อินฺทปญฺโญ ป.ธ.๙)


ฝ่ายปกครอง

พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค ๓
 (พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาค ๓
 ไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา 
ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ 
ถึงวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๕

พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค ๓

พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๖๑ เป็น เจ้าคณะภาค ๓

พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค ๓

พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม
 เจ้าอาวาสวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
 กรรมการ ศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศ
สำหรับพระภิกษุ

งานเผยแผ่

รองหัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ ๒

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ 
ที่ พระศรีสุทธิพงศ์

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชปริยัติดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต 
มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ 
พระเทพปริยัติสุธี ศรีศาสนกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร
บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมปริยัติโมลี ศีลาจารวิมล โกศลวรกิจจานุกิจ 
ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี


...............................................................................................................




พระธรรมปาโมกข์ 

(สุนทร สุนฺทราโภ ป.ธ.๔)


การศึกษา
ธรรมศึกษาชั้นเอก

เกียรติคุณ

ได้รับถวายปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์


ฝ่ายปกครอง

 เป็น ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชผาติการามวรวิหาร

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็น เปรียญธรรม ๔ ประโยค

พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็น พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์ 
สุนทรธรรมปฏิภาณนายก ปิฎกธรรมรักขิต ฐานานุกรมใน 
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร ป.ธ.๙) วัดราชผาติการามฯ

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ 
ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระสิริวัฒนวิสุทธิ์

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ 
พระราชญาณปรีชา จารุธรรมบัณฑิต ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม 
คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ 
พระเทพโมลี ศรีปฏิภาณธรรมสาธก ดิลกศาสนกิจ ยติคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมปาโมกข์ ยุตโยคญาณดิลก ไตรปิฎกธารี ศรีธรรมวิภูษิต 
ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี


.........................................................................








พระธรรมกิตติเมธี 

(เกษม สญฺญโต ป.ธ.๙ ,ดร.)


                                  ฝ่ายปกครอง

 เป็น รองเจ้าคณะภาค ๑๖ - ๑๗ - ๑๘ (ธ)



สมณศักดิ์


พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ
ที่ พระอริยคุณาธาร

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชกวี 
ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่
 พระเทพวิสุทธิกวี ศรีธรรมสาธก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมกิตติเมธี สีลาจารวัตรวิมล โสภณปริยัติดิลก 
ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี


........................................................................






พระธรรมรัตนดิลก 

(สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.๙)


ฝ่ายปกครอง

เป็น รองเจ้าคณะภาค ๙

สมณศักดิ์


พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค

๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ 
ที่ พระเมธีวราภรณ์

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น พระราชาคณะชั้นราช 
ที่ พระราชรัตนสุธี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม
คามวาสี

๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ 
ที่ พระเทพเมธี ศรีศาสนกิจ  ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร 
บวรสังฆาราม คามวาสี

๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม 
ที่ พระธรรมรัตนดิลก สาธกธรรมวิจิตร   นิวิฐศาสนกิจการี 
ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

................................................




ชนะวิกฤต​ Covid-19 ด้วยการสวดมนต์เป็นไปได้จริงหรือไม่

ชนะวิกฤต​ Covid-19   ด้วยการสวดมนต์เป็นไปได้จริงหรือไม่       ช่วงนี้คงได้ข่าวเกี่ยวกับ รมต.สำนักนายก ได้เสนอให้มหาเถรสมาคม  ถ่ายท...